ปิด Trackbacks ในบล็อกตนเอง

ปกติแล้ว การเขียนบทความแล้วมีการการอ้างอิงหรือทำลิงก์ไปยังบทความในบล็อกอื่น ๆ ที่รองรับ trackbacks, pingbacks จะมีลิงก์ไปปรากฏอยู่ในส่วนของความเห็นของบทความที่ถูกอ้างอิง เช่น นางสาว A เขียนบทความแล้วมีการอ้างอิงถึงบทความที่นางสาว B เขียนไว้ ในบทความของนางสาว B ก็จะมีลิงก์ที่โยงไปถึงบทความของนางสาว A ที่ได้เขียนอ้างอิงเอาไว้ปรากฏอยู่ โดยลิงก์นี้จะปรากฏอยู่ในส่วนของความเห็นในบทความของนางสาว B นี่คือระบบ trackbacks เป็นการสร้างลิงก์โดยอัตโนมัติ ทำให้เราทราบได้ว่า ในบทความนั้น ๆ มีใครเขียนถึงหรืออ้างอิงบทความของเราบ้าง (นี่ยังไม่รวมถึงการอ้างอิงแบบ manual ที่ต้องใส่ลิงก์ trackbacs ในช่องตัวเลือกของการเขียนบทความ)

การสร้างลิงก์ trackbacks นี้ มันสร้างโดยอัตโนมัติไว้เว้นแม้กระทั่งในบล็อกของเราเอง คือ หากเราสร้างลิงก์ไปยังบทความในบล็อกของเราเอง (เพื่อให้ผู้ชมได้อ่านบทความเพิ่มเติม) มันก็จะสร้าง trackbacks ให้ด้วย บางทีเราก็อยากให้มีการ trackbacks ในบล็อกของเราเอง

แต่หากเราไม่ต้องการให้มีการสร้าง trackbacks ในบล็อกของเราเอง เราจะทำอย่างไรดี??? ทางออกก็คือ สร้างลิงก์โดยที่ไม่ต้องใส่ชื่อโดเมนลงไปใน url ของบล็อก เช่น

Post Revisions

ตัวอย่างนี้เป็น url ที่ลิงก์ไปยังบทความ “Post Revisions” ซึ่งหากเราใส่ url นี้เพื่อลิงก์ไปยังบทความ “Post Revisions” ตรง ๆ แบบเดิม มันก็จะสร้าง trackbacs ไปยังบทความ “Post Revisions” ด้วย แต่การไม่ให้มี trackbacks ต้องไม่ใส่ชื่อโดเมนเข้าไป เป็น

2008/12/25/180

คือใส่เฉพาะส่วนของ url ที่ไม่รวม blog url (จากตัวอย่างที่ยกมานี้ blog url คือ http://xirbit.com )เข้าไปด้วย หรืออีกตัวอย่างคือ
http://localhost/wp/?p=39
เราก็ใส่เฉพาะ
?p=31
นี่เป็นวิธีที่ป้องกันการ trackbacks ในบล็อกของเราเอง โดยที่เราไม่ต้องใช้ปลั๊กอินใด ๆ ทั้งสิ้น
ย้ายบล็อก WordPress ข้ามโฮสต์ ต่างโฟลเดอร์
การย้ายบล็อก WordPress นั้น บางทีอาจจะดูเหมือนกับเป็นเรื่องไกลตัว ไม่มีความจำเป็น แต่การได้เรียนรู้เอาไว้บ้าง เป็นสิ่งที่ดีไม่น้อย วันนี้ก็เลยเขียนบทความการย้ายบล็อก WordPress มาให้ได้อ่านกัน เป็นกรณีศึกษา ดูไว้เป็นแนวทาง สิ่งที่ผมทำนี้ เป็นการย้ายข้อมูลบล็อกจาก XirBit.Com นี้ ไปเก็บไว้อีกโดเมนหนึ่ง ที่อยู่คนละโฮสต์ ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ blog ของโดเมน ก็คือจะเป็น http://newdomain.com/blog แบบนี้แหล่ะครับ (ไม่แน่ใจว่าจะมีใครทำแบบนี้หรือเปล่า) ข้อมูลเหล่านี้สามารถไปประยุกต์ใช้ในการย้ายบล็อก WordPress ไปยังโฮสต์ใหม่ได้ไม่ยาก เพียงแต่ขั้นตอนแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น

ขั้นตอนการย้ายบล็อก WordPress ข้ามโฮสต์ ต่างโฟลเดอร์ ทำมีดังนี้

1.สำรองข้อมูลจากฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ phpmyadmin
2.สำรองข้อมูลติดตั้ง WordPress ทั้งหมด รวมทั้งไฟล์ .htaccess, robots.txt และไฟล์ต่าง ๆ ที่อัพโหลดไปยังบล็อก จากโฮสต์เดิม (หาก File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ทำการย่อไฟล์เป็น .zip จาก File Manager แล้วดาวน์โหลดเพียงไฟล์เดียวจะเร็วกว่า)
3.สร้างฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน บนโฮสต์ใหม่
4.นำเข้าฐานข้อมูลที่ได้สำรองจากโฮสต์เก่า (ข้อ 1) เข้าไปยังโฮสต์ใหม่ ผ่านทาง phpmyadmin
5.แก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่ได้จากการสำรองข้อมูลใน ข้อ 2 โดยป้อนข้อมูลชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ตามข้อมูลของโฮสต์ใหม่ที่สร้างจากข้อ 3 (ส่วนชื่อโฮสต์นั้นใช้ localhost เหมือนกัน ไม่ต้องเปลี่ยน) เพิ่มข้อมูล define(‘WP_SITEURL’, ‘http://newdomain.com/blog’); และ define(‘WP_HOME’, ‘http://newdomain.com/blog’); เข้าไปในไฟล์ wp-config.php ด้วย เป็นการกำหนด WordPress Url และ Blog Url ที่เว็บใหม่ โดยผ่านทางไฟล์ wp-config.php ซึ่งการตั้งค่านี้ จะมีความสำคัญกว่าการแก้ไขในฐานข้อมูล และ WordPress จะใช้ค่านี้เป็นหลัก และข้อมูลส่วนนี้ในเมนู Settings->General นั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งการใช้วิธีนี้ ทำให้ไม่ต้องไปแก้ไขในฐานข้อมูล
6.อัพโหลดไฟล์ของ WordPress ทั้งหมดไปยังโฮสต์ใหม่ในโฟลเดอร์ blog (ถ้าในโฮสต์ใหม่ File Manager ใน Control Panel มีฟังก์ชั่น Compress/Extract ให้อัพโหลดข้อมูล .zip แล้วไปขยายไฟล์ผ่าน File Manager จะเร็วกว่า)
7.ติดตั้งปลั๊กอิน Velvet Blues Update URLs โดยปลั๊กอินตัวนี้จะทำการปรับปรุง URLs ลิงก์ต่าง ๆ จากเว็บเดิมทั้งหมดให้เป็น URLs ของเว็บใหม่โดยที่เราไม่ต้องไปแก้ไขในฐานข้อมูลโดยตรง จากนั้น activate ปลั๊กอินแล้วเข้าไปที่เมนู Settings->Update Urls ในช่อง Old URL ให้ป้อน WordPress URL เดิม หรือ URL ที่ติดตั้ง WordPress ของโฮสต์เก่า (http://xirbit.com/blog) ส่วนในช่อง New URL ป้อน WordPress URL บนโฮสต์ใหม่ (http://newdomain.com/blog) แล้วคลิกปุ่ม Update URLs
เท่านี้เราก็สามารถย้ายข้อมูลบล็อก WordPress ได้แล้วครับ ปลั๊กอิน Velvet Blues Update URLs ตัวนี้ เรายังสามารถนำมานำประยุกต์ใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้อีกเช่น ในกรณีนำข้อมูลจาก Blog online มาติดตั้งไว้ในเครื่องของเรา หรือการนำข้อมูลบล็อกจากเครื่องของเรานำไปไว้ใน Blog online หรือแม้กระทั่งการย้ายโฟลเดอร์ในการติดตั้ง WordPress

ใส่ความเห็น