ติดตั้งหลายบล็อก แต่ผู้ใช้ชุดเดียวกัน

การติดตั้งบล็อกหลาย ๆ บล็อก และต้องการใช้ผู้ใช้ชุดเดียวกันทำให้สะดวกยิ่งขึ้นคือผู้ใช้จากบล็อกหลักบล็อกเดียว แต่สามารถเข้าไปใช้งานได้ทุก ๆบล็อก โดยไม่ต้องสมัครอีก ซึ่งมันสามารถทำในลักษณะนี้ได้แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีผู้ใช้สนใจมากน้อยแค่ไหน
เงื่อนไขในการติดตั้งหลายบล็อกและใช้ผู้ใช้ชุดเดียวกันนี้คือจะต้องใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน คือต่างโดเมนได้ (โดเมนเดียวกัน ต่างโฟลเดอร์ไม่มีปัญหาครับ) แต่ต้องใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน (ปัจจุบันโฮสต์หนึ่งสามารถเพิ่มได้หลายโดเมน) และควรศึกษาข้อมูลหลายบล็อก หนึ่งฐานข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการทำ
ต้องมีการแก้ไขไฟล์ wp-config.php ของบล็อกที่ 2 เป็นต้นไปและมีการแก้ไขไฟล์ระบบเล็กน้อยเท่านั้น ดังต่อไปนี้
เปิดไฟล์ wp-config.php ของบล็อกที่ 2 เป็นต้นไป โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้
view source

print?
define(‘CUSTOM_USER_TABLE’, ‘wp_users’);
define(‘CUSTOM_USER_META_TABLE’, ‘wp_usermeta’);
define(‘CUSTOM_CAPABILITIES_PREFIX’, ‘wp_’);
เพิ่มก่อนบรรทัด /* That’s all, stop editing! Happy blogging. */ ส่วน table_prefix นั้น ให้ป้อนตาม table_prefix ของบล็อกหลัก ถ้าไม่ใช่ wpตามค่าเริ่มต้นก็เปลี่ยนให้ถูกต้อง
เปิดไฟล์ /wp-includes/capabilities.php ของบล็อกที่ 2 เป็นต้นไป (บล็อกหลักไม่ต้องแก้ไข) แล้วค้นหาบรรทัด
view source

print?
$this->cap_key = $wpdb->prefix . ‘capabilities’;
เมื่อพบแล้วให้ลบออก แล้วนำโค้ดด้านล่างไปแทนที่
view source

print?
if (defined (‘CUSTOM_CAPABILITIES_PREFIX’)) {
$this->cap_key = CUSTOM_CAPABILITIES_PREFIX . ‘capabilities’;
}
else { $this->cap_key = $wpdb->prefix . ‘capabilities’;
}
อัพโหลดไฟล์ที่ได้แก้ไขไปทับไฟล์เดิม เท่านี้ ก็จะเข้าสู่ระบบของบล็อกอื่น ๆโดยใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านจากบล็อกหลักได้แล้วหล่ะครับ
ข้อควรทราบ
1. ต้องใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน
2. ในบล็อกที่ 2 เป็นต้นไป จะไม่มีตัวเลือกผู้เขียนบทความ
3. การเพิ่มผู้ใช้จาก Dashboard ของบล็อกที่ 2 (เป็นต้นไป)จะปรากฏชื่อผู้ใช้นั้นใน 2 ตารางข้อมูลคือของบล็อกหลักและบล็อกที่เพิ่มผู้ใช้เข้าไป
4. เมื่อผู้ใช้ลงทะเบียนเอง ข้อมูลจะปรากฎในตารางข้อมูลของบล็อกหลัก

ใส่ความเห็น